กทม. สั่งปิด 25 สถานที่ชั่วคราวเหตุระบาด โควิด-19 รอบสอง
กทม. ออกคำสั่งปิด 25 สถานที่ชั่วคราว เพื่อต้องการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของ ไวรัส โควิด-19 ที่กลับมาระบาดอีกครั้ง โดยที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.ที่ผ่านมา |
พลตํารวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประกาศสั่งปิด 25 สถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 15) ด้วยการขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปจนถึงวันที่ 15 มกราคม 2564 และประกาศใช้ข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15)
ทั้งนี้เนื่องจากยังพบการระบาด ไวรัส โควิด-19 ระลอกใหม่ขึ้น ในบางเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาด และดําเนินการให้เป็นไปตามข้อกําหนด อันเป็นการปกป้องความมั่นคงปลอดภัยทางด้านการสาธารณสุขของประเทศ และป้องกันมิให้เกิดการระบาดเพิ่มขึ้นจนมีอาจควบคุมได้ อาศัย อํานาจตามความในมาตรา ๓๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ประกอบกับข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ฉบับที่ ๑๕) ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อ กรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ 6 มกราคม ๒๕๖๔ จึงให้ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการ เกิดโรคเป็นการชั่วคราว และกําหนดมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ดังต่อไปนี้
1. ปิดสถานที่ ได้แก่ สถานบริการ ผับ บาร์ สถานบันเทิง, สวนน้ำ สวนสนุก, สนามเด็กเล่น เครื่องเล่นสำหรับเด็กในตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด, โต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียด, สถานที่เล่นตู้เกม, ร้านเกม และร้านอินเทอร์เน็ต, สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่, สถานรับเลี้ยงเด็ก และดูแลผู้สูงอายุ, สนามมวย, โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ (ยิม), สนามม้า, สถานประกอบกิจการอาบน้ำ, สถานประกอบกิจการอาบอบนวด, สนามแข่งขันทุกประเภท, สถานที่ให้บริการห้องจัดเลี้ยง, สนามชนโค สนามกัดปลา หรือสนามแข่งขันอื่น, สนามพระเครื่อง ศูนย์พระเครื่อง, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน, สถานเสริมความงาม, สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส, สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา และสถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า, สนามฝึกซ้อมมวย โรงยิม หรือค่ายมวย, สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง สเก็ต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการละเล่นอื่นๆ, สถาบันลีลาศ หรือสอนลีลาศ, อาคารสถานที่ของโรงเรียน สถาบันกวดวิชา และสถาบันการศึกษาทุกประเภท
2 สถานที่ดังต่อไปนี้ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่ แผงลอย ภัตตาคาร สวนอาหาร ศูนย์อาหาร โรงอาหาร ซึ่งไม่รวมถึงสถานบริการ ผับ บาร์ ห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในสถานที่ดังกล่าว, ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และคอมมูนิตี้มอลล์, ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ, ห้องประชุมในโรงแรมหรือศูนย์ประชุม, ร้านค้าปลีก ค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีกค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด, ร้านค้าปลีก ค้าส่ง หรือตลาดค้าส่งขนาดใหญ่, ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมสําหรับบุรุษหรือสตรี ให้เปิดดําเนินการโดยจํากัดเวลา การให้บริการในร้านไม่เกินรายละสองชั่วโมงและต้องไม่มีผู้นั่งรอในร้าน, สถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานดูแลผู้สูงอายุ (เฉพาะที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นปกติธุระ), คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม ร้านทําเล็บ, สนามกอล์ฟ และสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ, สนามกีฬา, สวนสาธารณะ ลาน - พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกําลังกาย สนามกีฬา ลานกีฬา, สถานที่ให้บริการดูแลรักษาสัตว์ สปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์, สถานที่หรือสนามออกกําลังกายในร่ม, สระว่ายน้ำสาธารณะทั้งกลางแจ้งและในร่ม, สวนพฤกษศาสตร์ สวนดอกไม้ พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ห้องสมุดสาธารณะ และหอศิลป์, สระน้ำเพื่อการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำในบึง, โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ, สวนสัตว์ หรือสถานที่จัดแสดงสัตว์
3 สถานที่อื่นนอกเหนือจากที่ระบุข้างต้น ให้ผู้เกี่ยวข้องจัดให้มีมาตรการป้องกันโรคดังต่อไปนี้ บริการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือการคัดกรองอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ, ให้สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า, อํานวยความสะดวกในการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร และจํากัดจํานวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมิให้แออัด, จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์เจลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค, จัดให้มีการเช็ดทําความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการทํากิจกรรม รวมทั้งระหว่างและภายหลังการทํากิจกรรมด้วย, ให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกําหนด
ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และอาจมีความผิดตาม มาตรา 18 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับและหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อ 2 และข้อ 3 จะถูกสั่งปิด สถานที่เป็นการชั่วคราว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น