สกู๊ปพิเศษ: สถิติชี้ แจ๊ซซ์ ก้าวสู่การเป็นซุปตาร์
โปรแจ๊ซซ์ อติวิชญ์ เจนวัฒนานนท์ สวิงหนุ่มจากหัวหิน วัย 24 ปีที่กำลังรอการพิสูจน์ตัวเองบนเวทีระดับโลก |
เมื่อปี 2016 มันเป็นปีที่ไม่น่าจดจำนักสำหรับ โปรแจ๊ซซ์ เจนวัฒนานนท์ สวิงหนุุ่มจากหัวหิน หลังจากที่ต้องสูญเสียการ์ด เอเชียน ทัวร์ แต่เพียงไม่ถึง 3 ปี เขากลับมาถึงจุดสูงสุดของทัวร์ด้วยการก้าวขึ้นมาเป็น แชมป์ เอเชียน ทัวร์ ออร์เดอร์ ออฟ เมอริต
จากวันที่ไม่สามารถรักษาโอกาสในการเล่น จนก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในนักกอล์ฟที่ดีที่สุดคนหนึ่งของโลก
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แจ๊ซซ์ ควรที่จะได้รับโอกาสลงเล่นใน เดอะ มาสเตอร์ส เป็นครั้งแรกให้กับตัวเอง
น่าเสียดายที่สถานการณ์ ไวรัส โควิด-19 ที่กำลังคุกคามไปทั่วโลก ทำให้รายการ เดอะ มาสเตอร์ส ต้องขยับตัวเองไปเล่นในเดือน พ.ย.นี้ และนั่นทำให้ แจ๊ซซ์ ต้องรอคอยโอกาสของตัวเองในการลงหวดที่ ออกัสต้า เนชั่นเนล ออกไป แต่ถึงกระนั้นเอง มันก็ทำให้เราได้มีเวลามาดูว่า กว่าที่ แจ๊ซซ์ ที่ปัจจุบันรั้งมือ 39 ของโลก ก้าวมาถึงจุดนี้ได้ยังไง
แชมป์ บังคลาเทศ โอเพ่น เมื่อปี 2017 เป็นเหมือนรายการที่ปลุก แจ๊ซซ์ จากวันที่แสนย่ำแย่สู่ความสำเร็จ |
ช่วงเริ่มต้น
แจ๊ซซ์ ก้าวเข้ามาสู่การเป็นผู้เล่นของ เอเชียน ทัวร์ ในปี 2010 โดยตอนนั้น แจ๊ซซ์ กลายเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดตลอดกาลของทัวร์ด้วยวัย 14 ปีกับอีก 71 วัน ซึ่งลงเล่นรายการแรกในศึก เอเชียน ทัวร์ อินเตอร์เนชั่นเนล ที่กรุงเทพฯ ก่อนที่จะได้รับการ์ดทัวร์ในปี 2013 ซึ่งระหว่างปี 2013-2015 แจ๊ซซ์ จบด้วยอันดับ 31, 32 และ 18 ตามลำดับในอันดับ ออร์เดอร์ ออฟ เมอริต ก่อนที่ในปี 2016 เขาจะจบลงด้วยอันดับ 63 ไม่สามารถรักษาการ์ดทัวร์ได้แจ๊ซซ์ กับถ้วยพระราชทาน ควีนส์คัพ เมื่อปี 2018 |
แชมป์ สิงค์โปร์ โอเพ่น ในต้นปี 2019 ที่เป็นการเปิดซีซั่นอันยอดเยี่ยม |
ถ้วยแชมป์ โคลอน โคเรีย โอเพ่น ที่ทำให้ แจ๊ซซ์ ได้ออกไปอาละวาดใน เจแปน กอล์ฟ ทัวร์ |
แชมป์ อินโดนิเซีย มาสเตอร์ส (บน) และ แชมป์ ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส ที่ทำให้ แจ๊ซซ์ ก้าวขึ้นเป็นมือ 1 ของ เอเชียน ทัวร์ |
มาดูกันว่า แจ๊ซซ์ มีความก้าวหน้าอย่างไรกันบ้าง?
---ทีมข่าวกอล์ฟสยามกีฬารายวัน---
สถิติ กรีน-อิน-เรคกูเลชั่น (GIR)
นี่คือสิ่งสำคัญมาก เพราะสถิติ กรีน-อิน-เรคกูเลชั่น ของ แจ๊ซซ์ พัฒนาจาก 64.98% ในปี 2016 มาเป็น 75.26% ในปี 2019 ซึ่งหากทำเพิ่มอีก 2 กรีนต่อรอบ มันจะทำให้เขากลายเป็นสถิติเทียบเท่ากับนักกอล์ฟที่ดีที่สุดของโลกเลยลองเปรียบเทียบดู ถ้าหากไม่คำนึงถึงความยาก และความยาวของสนาม อาจจะเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญ ด้วยเปอร์เซ็นต์แบบนี้ แจ๊ซซ์ จะกลายเป็นผู้เล่นอันดับ 1 ของ พีจีเอ ทัวร์ และอันดับ 6 ของ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ เลยในปี 2019
สถิติพัตต์ ต่อ กรีน-อิน-เรคกูเลชั่น
ในทัวร์อื่นๆผู้เล่นที่ระดับท๊อปใน กรีน-อิน-เรคกูเลชั่น จะไม่มีสถิติ พัตต์ต่อกรีน-อิน-เรคกูเลชั่น สูงมากนัก แต่ในปี 2019 แจ๊ซซ์ มีสถิติพัตต์เฉลี่ยต่อกรีน-อิน-เรคกูเลชั่นที่ 1.71 ซึ่งนับเป็นอันดับ 2 ของ เอเชียน ทัวร์ความสำเร็จอันน่าทึ่งนี้มันเป็นตัวบ่งชี้ว่า เขาไม่เพียงแค่ตีขึ้นกรีนได้เยอะเท่านั้น แต่เขาก็ยังตีได้ใกล้หลุมอีกด้วย
มีเพียงผู้เล่นไม่กี่คนเท่านั้นที่มีสถิติเหล่านี้สูงในทั้ง 2 อย่างของปี 2019 ยกเว้น แม๊ตธิว ฟิทซ์แพทริค สวิงชาวอังกฤษจาก ยูโรเปี้ยน ทัวร์ หนึ่งในผู้เล่นที่ แจ๊ซซ์ เคยเอาชนะและคว้าแชมป์ เอสเอ็มบีซี สิงค์โปร์ โอเพ่น เมื่อปี 2019 โดยที่ ฟิทซ์แพทริค อยู่ในอันดับ 12 ในอันดับ กรีน-อิน-เรคกูเลชั่น ที่ 73.11 % แต่เขาเป็นอันดับ 2 ในอันดับ พัตต์ ต่อ กรีน-อิน-เรคกูเลชั่น ที่สถิติ 1.71 ในยูโรเปี้ยน ทัวร์
การเอาตัวรอด
นอกจากนั้น เปอร์เซ็นต์ในการเอาตัวรอดของ แจ๊ซซ์ ก็พัฒนาจาก 60.34% ในปี 2016 มาเป็น 69.49% ในปี 2019 โดยสถิติพลาดกรีนเพียง 4.45 ครั้งของ แจ๊ซซ์ และมีสถิติเกม อัพ-แอนด์-ดาวน์ อยู่ที่ 3.09เปอร์เซ็นต์ กรีน-อิน-เรคกูเลชั่น ที่สูงสุดมันเป็นส่วนผสมมาจากทักษะในการเอาตัวรอดของเขา ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า แจ๊ซซ์ มีสถิติเฉลี่ย 1.87 ในการทำโบกี้ต่อรอบ และนับว่าเป็นสถิติที่ต่ำที่สุดใน เอเชียน ทัวร์ เมื่อปีที่แล้ว
เบอร์ดี้ต่อรอบ
อีกตัวเลขที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของ แจ๊ซซ์ ก็คือจำนวนในการทำเบอร์ดี้ของเขา โดยเขามีสถิติเฉลี่ย 5.00 ต่อรอบในการทำเบอร์ดี้ สูงที่สุดของ ทัวร์ และมีสถิติเหนือกว่า สก๊อตต์ เฮนด์ ที่รั้งอันดับ 2 ที่ 4.31 เพียง 0.69 โดยเขาเป็นผู้เล่นที่ทำเบอร์ดี้ได้สูงสุดต่อรอบ และเสียโบกี้น้อยที่สุดของทัวร์ในเวลาเดียวกันด้วยสกอร์เฉลี่ย
ด้วยตัวเลขอันน่าทึ่ง และพัฒนาการที่ก้าวกระโดด นี่คือกุญแจสำคัญในความยอดเยี่ยมของ แจ๊ซซ์ ระหว่างปี 2016 และ 2019 โดยเขาพัฒนาจากสถิติสกอร์เฉลี่ย 71.23 ในปี 2016 มาเป็น 68.28 ในปี 2019 ซึ่งห่างกันเกือบ 3 สโตรคต่อรอบ ทำให้ไม่แปลกที่ แจ๊ซซ์ จะคว้าถึง 4 แชมป์จากเมื่อปีที่แล้ว และก้าวขึ้นเป็นมือ 1 ของทัวร์สถิติไดร์ฟ
แจ๊ซซ์ พัฒนาระยะเฉลี่ยในการไดร์ฟได้มากถึง 12 หลา นับตั้งแต่ปี 2016 ในขณะเดียวกันก็พัฒนาความแม่นยำจากเดิมมากกว่า 4% ด้วย ทำให้เขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่มีการไดร์ฟลูกที่ดีที่สุดของทัวร์ และจบด้วยอันดับ 6 ในการ ไดร์ฟ เมื่อปีที่แล้วจากผลงานที่ระบุให้เห็นได้ชัดถึงพัฒนาการอันยอดเยี่ยมของ แจ๊ซซ์ ว่าเหตุใดเมื่อปีที่แล้ว แจ๊ซซ์ จึงมีผลงานระเบิดเทิดเทิงเช่นนี้ และทำให้แฟนๆกอล์ฟอยากจะเห็นแล้วว่า พัฒนาการต่อไปของ แจ๊ซซ์ จะเป็นเช่นไรต่อไป กับเป้าหมายที่สูงขึ้น และความเข้มข้นที่มากขึ้น กับย่างก้าวการเป็นซุปตาร์นักกอล์ฟที่ทุกคนกำลังจับตาในตอนนี้
บรรยากาศของแฟนกอล์ฟชาวสหรัฐที่ให้การต้อนรับ แจ๊ซซ์ ที่กลายเป็นขวัญใจแฟนๆชั่วข้ามคืนในศึก พีจีเอ แชมเปี้ยนชิพ |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น