เอเชี่ยน ทัวร์ ประกาศสนามแข่งใหม่ศึก พานาโซนิค โอเพ่น อินเดีย

ภาพคลับเฮ้าส์ของสนาม เดอะ คลาสสิค กอล์ฟ แอนด์ คันทรี คลับ ยามค่ำคืนที่สวยงามอลังการงานสร้าง ซึ่งจะเป็นสนามเหย้ากับการแข่งขัน พานาโซนิค โอเพ่น อินเดีย ในระหว่างวันที่ 14-17 พย.นี้
การแข่งขันกอล์ฟอาชีพ เอเชี่ยน ทัวร์ ออกมาเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ที่ 10 มิย.ที่ผ่านมาว่า การแข่งขันกอล์ฟรายการ พานาโซนิค โอเพ่น อินเดีย จะย้ายการแข่งขันไปแข่งกันที่สนาม เดอะ คลาสสิค กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ ที่ คุร์เคาน์ รัฐหรยาณา ประเทศ อินเดีย ซึ่งจะเป็นการจัดการแข่งขันรายการนี้ใน เอเชี่ยน ทัวร์  เป็นปีที่ 9 ติดต่อกัน ซึ่งจะมีการแข่งขันในระหว่างวันที่ 14-17 พย.นี้

สนาม เดอะ คลาสสิค กอล์ฟ แอนด์ คันทรีคลับ นับเป็นหนึ่งในสนามสุดคลาสสิคที่สุดของ อินเดีย และเป็นสนามที่เป็นหนึ่งในสนามกอล์ฟ แจ็ค นิคลอส ซิกเนเจอร์ แห่งหนึ่งของ เอเชียใต้ โดยสนามเป็นสนาม 18 หลุมแบบแชมเปี้ยนชิพ คอร์ส และยังมี 9 หลุม ซิกเนเจอร์ ที่เป็น แคนยอน คอร์ส อีกด้วย
 "โปรโจ๊ก" ชัพชัย นิราช
สนามแห่งนี้เมื่อปี 2009 "โปรโจ๊ก" ชัพชัย นิราช สวิงจาก จ.พิษณุโลก เคยทำสถิติโลกด้วยการทำสกอร์ในสนามแบบพาร์ 72 ด้วยสกอร์ 32 อันเดอร์พาร์ คว้าแชมป์ที่ 3 ของตัวเองในศึก เอเชี่ยน ทัวร์ ในรายการ ซีล โอเพ่น
ตอนนั้น ชัพชัย อายุเพิ่งจะ 25 ปี เปิด 2 วันแรกด้วยการทำ 10 อันเดอร์พาร์ 62 ก่อนที่จะมาทำ 7 อันเดอร์พาร์ 65 ในวันที่ 3 และทำ 5 อันเดอร์พาร์ 67 ในวันสุดท้าย ซึ่งโปรโจ๊กปิดฉากแมตช์นั้นแบบสมบูรณ์แบบด้วยการทำเบอร์ดี้ในหลุมสุดท้ายเอาชนะคู่แข่งไปถึง 11 สโตรก
ก่อนที่สนามแห่งนี้จะได้จัดการแข่งขัน เอเชี่ยน ทัวร์ หนแรกในปี 2009 สนามแห่งนี้้้เคยเป็นสังเวียนแข่งขันในศึก อินเดี่ยน โอเพ่น ในปี 2000 และ 2001 และตลอดเวลาที่ผ่านมาสนามแห่งนี้ ก็เป็นสังเวียนแข่งในศึก โปรเฟสชั่นเนล กอล์ฟ ทัวร์ ออฟ อินเดีย (พีจีทีไอ) หลายต่อหลายครั้ง
เดิมที่ของการแข่งขัน พานาโซนิค โอเพ่น อินเดีย จะจัดกันที่้ เดลฮี กอล์ฟ คลับ ซึ่งก็เคยผลิตแชมป์ขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น อนีร์บาน ลาห์ฮิรี่ (2011), ดิกวีเจย์ ซิงห์ (2012), แวด ออร์มสบี้ (ออสเตรเลีย) (2013), เอส.เอส.พี.ชอว์ราเซีย (2014), ชีราจ คูมาร์ (2015), มูเคส คูมาร์ (2016), ชีพ กาปูร์ (2017) และ คาลิน โจชิ (2018)
นี่ถือเป็นหนึ่งในรายการที่จะทำให้นักกอล์ฟอินเดียมีโอกาสไปสู่การแข่งขันระดับนานาชาติเหมือนเช่นที่ ลาห์ฮิรี่ เป็น นับตั้งแต่คว้าแชมป์นั้น ลาห์ฮิรี่ ก็คว้าแชมป์อีก 6 รายการก่อนที่จะคว้ามือ 1 ของ เอเชี่ยน ทัวร์ ออร์เดอร์ ออฟ เมอริต และปัจจุบัน เล่นกอล์ฟใน พีจีเอ ทัวร์ ของ สหรัฐ
โช มินน์ ตันท์ ซีโอโอ ของ เอเชี่ยน ทัวร์ เผยว่า "พวกเราตื่นเต้นที่จะได้กลับไปแข่งที่ เดอะ คลาสสิค กอล์ฟ แอนด์ คันทรี คลับ กับการแข่งขันหนที่ 9 ของศึก พานาโซนิค โอเพ่น อินเดีย มันเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วนับตั้งแต่ครั้งสุดท้ายที่เราจัดการแข่งขันกันที่นี่ การได้กลับไปยังที่ซึ่ง ชัพชัย เคยสร้างสถิติโลกไว้มันนับเป็นข่าวที่น่าตื่นเต้นจริงๆ"
"นับตั้งแต่เริ่มการแข่งขันรายการนี้ในปี 2011 รายการนี้ก็สร้างคุโณปการมากมายให้กับวงการกอล์ฟหลายต่อหลายปี เราหวังว่านี่จะเป็นอีกรายการที่เราจะได้ค้นพบเพชรเม็ดใหม่ให้กับวงการ"
บี.ฮาริฮาราน ผู้อำนวยการจัดการ แลนด์เบส อินเดีย ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้บริหารสนาม เผยว่าา "เรายินดีอย่างยิ่งที่จะได้เป็นสนามเหย้าของการแข่งขัน พานาโซนิค โอเพ่น อินเดีย และเราก็หวังว่าการที่เราได้เป็นสนามแข่งขันนี้มันจะทำให้การแข่งขันรายการนี้ประสบความสำเร็จเหมือนเช่นที่ผ่านมา และสร้างความทรงจำที่ดีอีกครั้ง"
รายการนี้จะเป็นแมตช์ โคแซงชั่น ระหว่าง เอเชี่ยน ทัวร์ และ โปรเฟสชั่นเนล กอล์ฟ ทัวร์ ออฟ อินเดีย (พีจีทีไอ) ของ อินเดีย อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในรายการ พานาโซนิค สวิง เพื่อลุ้นคะแนนสะสมเพื่อไปร่วมการแข่งขันศึก พานาโซนิค โอเพ่น กอล์ฟ แชมเปี้ยนชิพ 2019 ที่ปีนี้จะแข่งขันกันในระหว่างวันที่ 26-29 กย.นี้ ณ สนาม ฮิกะชิฮิโรโนะ กอล์ฟ คลับ
เมื่อฤดูกาล 2017-18 ชีพ กาปูร์ ทำคะแนนเป็นอันดับ 1 ที่คะแนน 2922.90 แต้ม ซึ่งต้องขอบคุณกับการคว้าแชมป์ในรายการ พานาโซนิค โอเพ่น อินเดีย และเป็นแชมป์คนแรกชาว อินเดีย ที่คว้าที่บ้านเกิด และมาคว้าอันดับ 2 ในปี 2017 อีกด้วย ก่อน กาปูร์ จะไปคว้าแชมป์ รอยัล คัพ ที่ประเทศไทย ไม่กี่เดือนต่อมา และเป็นนักกอล์ฟคนแรกที่คว้าแชมป์ 3 รายการในซีซั่นเดียวของ เอเชี่ยน ทัวร์ ด้วย

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม